จุฬาฯ ขยายเวลาความร่วมมือ ‘อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)’

จุฬาฯ ขยายเวลาความร่วมมือ ‘อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)’

นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจต่างๆ 87 แห่ง ในการขยายเวลาข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ออกไปอีก 5 ปี จนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2570 ว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางวิชาการที่ใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมแล้ว

ยังเป็นการแสดงจุดยืน เจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นของสถาบันการศึกษาต่างๆ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต่อการแก้ไขปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม ที่กำลังเป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน

และยังเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญของนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในแวดวงการศึกษา และวงวิชาการต่างๆ รวมถึง การร่วมมือกันส่งเสริม และผลักดันเพื่อสร้าง และขยายฐานข้อมูลอ้างอิง

เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมของประเทศไทยให้แข็งแกร่ง และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกสถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านการศึกษาและวิชาการ

รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ

รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวว่า โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ริเริ่มจากแนวคิดของ รศ.ดร.อมร เพชรสม อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เป็นการสร้างมาตรฐานในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนิสิตนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาปรับปรุงระบบโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อต่อยอดไปสู่ความเป็น “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)”

โดยขยายฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัยกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) หรือ TCI รวมถึง ฐานข้อมูลสำคัญอื่นๆ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น

“การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของการตระหนักรู้ในเรื่องจริยธรรมทางงานวิชาการซึ่งไม่ได้อยู่ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัญหาทับซ้อนอยู่ในการลอกเลียนงานวรรณกรรมในทุกระดับของการศึกษา และวิชาชีพ จุฬาฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้ขยายระยะเวลาการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ต่อไปอีก 5 ปี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้งาน เพื่อให้เกิดคลังข้อมูลขนาดใหญ่ด้านวิชาการของประเทศไทย ทั้งนี้ จุฬาฯ ได้พันธมิตรสำคัญมากมายในการสร้างความร่วมมือใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) การได้ฐานข้อมูลสำคัญของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre หรือ TCI) จะทำให้เกิดความแม่นยำสูงในการตรวจจับการทำซ้ำ ลอกเลียนวรรณกรรมได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้บริการกลางในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลด้านวิชาการะหว่างกระทรวงต่างๆ ให้เกิดเป็น Academic Public Service เพื่อให้บริการทั้งประเทศไทยในอนาคต” รศ.ดร.ยุทธนา กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ allamericanplaygrounds.com

UFA Slot

Releated